คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 8

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103


วันพุธ ที่ 30  เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556

การเรียน  การสอน 


อยู่ในช่วงสอบปลายภาค 

ในระหว่างวันที่ 30   เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2556     ถึง    วันที่ 7   เดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2556



     สำหรับใครที่กำลังเครียดกับการเตรียมตัวสอบ  ขอนำเคล็ดลับ 6 ประการ  แนะนำแก่เหล่าเด็กนักเรียนเพื่อรับมือกับความเครียด ในช่วงเวลาอันน้อยนิดที่พอจะมีเหลืออยู่ก่อนสอบ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาตามอ่านกันเลยค่ะ


1. ถอยห่างคนที่พกความเครียดมาเต็มหัว

          จริงๆ แล้วความเครียดเป็นเหมือนโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ในช่วงสัปดาห์ที่จะสอบนั้น ขอให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นความเครียดอย่างเช่นกลุ่มของเพื่อนที่มีอารมณ์รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเพื่อนคนนั้นเอาแต่บ่นถึงงานของตัวเอง เพราะความเครียดของเขาอาจจะส่งต่อมาถึงคุณได้

 2. ขยับแข้งขาพร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์

          นี่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่น่าแปลกที่คนส่วนมากมักจะลืมมันไป ในช่วงสอบควรจะงดน้ำตาลที่ทำร้ายร่างกายและหันไปทานขนมจำพวกซีเรียลบาร์ ซึ่งมีธัญพืชที่ดีต่อสุขภาพ หรือผักผลไม้ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าจำเป็นต้องท่องหนังสือเป็นเวลานาน ก็สมควรจะทานอาหารที่มีโปรตีนด้วยเช่นกัน รวมถึงพยายามออกกำลังกาย แค่การเดินเพียง 10 นาที ก็สามารถช่วยเพิ่มสมาธิได้แล้ว

 3. แค่ปฏิเสธ

          ง่าย ๆ แค่ปฏิเสธใครก็ตามที่จะทำให้คุณเสียเวลาทบทวนเนื้อหาในตำรา อาจจะเป็นเพื่อนที่อยากจะนั่งเล่าชีวิตของเขาให้ฟังเป็นชั่วโมง หรืองานเลี้ยงในคืนก่อนสอบ พวกนี้คือสิ่งล่อลวงที่จะทำให้เสียเวลาอ่านหนังสือไปซะเปล่า แค่ปฏิเสธสิ่งที่จะทำให้ไขว้เขวเหล่านั้นไปซะ พยายาม คิดถึงเกรดที่จะดีขึ้น (ท่องเอาไว้ ๆ )

 4. บังคับตัวเองให้พักเสียบ้าง

           หาเวลาพักสัก 10 หรือ 15 นาที ในทุกๆ ชั่วโมงที่ทบทวนบทเรียน แล้วให้รางวัลกับตัวเองสักเล็กน้อย จะเล่นเฟสบุ็ค จะแชท หรือคุยกับเพื่อนก็ได้ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วค่อยกลับมาเริ่มทบทวนบทเรียนใหม่ ให้สมองได้พักบ้าง จะช่วยให้สมาธิจดจ่อในตำราได้ดียิ่งขึ้น

 5. จินตนาการว่าทุกอย่างกำลังไปได้สวย

          อาจจะฟังดูพิลึกแต่นี่เป็นสิ่งวิเศษสุดในบรรดาเคล็ดลับทั้งหมดที่ว่ามา ลองจินตนาการว่าตัวเองกำลังทำข้อสอบด้วยความมั่นใจเต็มที่เพราะคุณรู้เนื้อหาทั้งหมด คิดภาพว่าสามารถทำข้อสอบถูกทุกข้อดูสิ แล้วมองดูว่าตัวเองนั้นผ่อนคลายขึ้นแค่ไหน เห็นภาพเกรด A ตัวโต ๆ บนกระดาษคำตอบรึเปล่า หากคิดภาพว่าทุกสิ่งจะจบลงอย่างสวยงาม เชื่อสิ..ก็มักจะเป็นเช่นนั้นแหล่ะ

 6. ถ้าเรียนหนักเท่าที่จะทำได้แล้ว ก็มั่นใจในตัวเองซะ

          ในช่วงเวลาของการสอบนั้น จำเป็นจะต้องอยู่ในภาวะที่มั่นใจที่สุด เพราะนี่ก็คือเวลาของการพิชิตข้อสอบ! เคล็ดลับในตอนนี้ก็แค่ทำยังไงก็ได้ให้โน้มน้าวใจตัวเองให้ได้ว่าทุกสิ่งกำลังเป็นไปได้สวย จริงอยู่ว่ามันอาจจะดูพิลึก แต่ก็ต้องลองทำมันเพื่อตัวของเราเองนะ

          ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ดูสิคะ รับรองว่าจะต้องชอบผลของมันแน่ ๆ เลย



วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 7

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103


วันพุธ ที่ 24 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556



การเรียน  การสอน 
-  อาจารย์ให้นักศึกษารวมกันตอบ และสักถามอภิปรายในเรื่องของ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- อาจราย์ได้นำเนื้อหา ความรู้เพิ่มเติม 

      เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ



จากการได้รับความรู้ จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  








 ทำเองสวยไมค่ะ








ขอบคุณที่มาจาก Project Approach การสอนแบบโครงการ อ.วรนาท รักสกุลไทย

โพสวันที่ 5/8/56

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 6

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103

วันพุธ ที่ 17 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556




การเรียน  การสอน 





สื่อของเล่น

ชื่อสื่อ กระป๋องโยกเยก







วัสดุที่ใช้

1. กระดาษสี

2. กระป่องที่ไม่ได้ใช้

3. เทปกาว,กาว

4. ดินน้ำมัน




วิธีทำ

1. นำกระดาษสีมาตัด ให้พอดีกับขอบข้างๆกระป๋อง 1 แผ่น




















2. ตัดกระดาษสี 2แผ่น เป็นวงกลม พอดีกับกระป่อง






3. ติดกระดาษ แผ่นที่1  ติดตรงกลมๆกระป่อง( ดังภาพ)








4. ติดดินน้ำมัน บริเวณก้นกระป๋อง ติดให้แน่น และให้เทปกาวติดยึดดิน

น้ำมัน ดูว่าดินน้ำมันอยู่กึ่งกางกระป๋องหรือป่าว(ดินน้ำต้องถ่วงกระป๋อง)



5. เอากระดาษ แผ่นที่2 ที่ตัดเป็นวงกลม แปะติดเวณอีกข้างหนึ่ง ให้เรียบร้อย




6. กระดาษแผ่น ที่ตัดให้พอดีกับขอบข้างๆกระป๋อง แปะติด




แค่นี้ก็เสร็จแล้ว และปรบแต่งแล้วเราจะให้กระป๋องโยกเยกเป็นรูแปอะไรทั้เราต้องการจะตบแ่ต่ง

รุปหมู

รูป เสือ

















วิธีเล่น

1. ใช้มือจับบริเวณ ด้านบนของกระป๋องโยกเยก

2. จับให้กระป๋องโยกเยกไปตามที่เราอยากให้ไปทิศทางไหน

หลักวิทยาศาสตร์

  คือ สิ่งที่ทำให้กระป่องนั้นโยกเยกได้ เกิดจากเอาดินน้ำมันไปดิใต้ก้นกระป๋อง ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วง จึงทำให้กระป๋องเคลื่อนได้
สื่อทดลอง

ชื่อสื่อ ปืนกระดาษเป๊าะแป๊ะ

 อุปกรณ์

1. กระดาษ

ขั้นตอนการทำ

1. วางกระดาษ เป็นแนวนอน


2. ผับกระดาษด้านบนล่างมาประจบด้านล่าง











3. ผับกระดาษซ้ายมือเข้าหาอีกด้านหนึ่ง

4.จับปีกกระดาษด้านบน และบีกกระดาษด้านล่างเข้าหากัน
                                                                                                                 




5. อีกด้านหนึ่งจะมีรู ให้เปาเขาไปให้รูนั้น
















6. และจับกระดาษตีไปด้านหน้า







หลักการทางวิทยาศาสตร์

ลมเข้าไปกระทบกับวัตถุทำให้กระดาษมีเสียง




VDO ให้เด็กทำการทดลอง

 ปืนกระดาษเป๊าะแป๊ะ

เด็กที่เรานำมา ทำการทดลอง

เด็กหญิง สุภาวิตา ทองขัน   ชื่อเล่น โฟร์วิว อายุุ6ขวบ







วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 5

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103

วันพุธ ที่10 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556

การเรียน  การเรียน

   - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เตรียมงานออกไปนำเสนอ สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของแต่ละคน ให้พร้อมและให้พูดถึงสิ่งที่เตรียมมาประดิษฐ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

 - อาจารย์บอกว่าถ้าชิ้นงานชิ้นไหนซ้ำกับเพื่อนก็ต้องออกมานำเสนอ แต่งานชิิ้้นนักศึกษาต้องประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)

  - ดิฉันได้ออกไปรายงานเป็นคนที่ 3


                                                   

                                ชื่อสื่อ ที่ประดิษฐ์ แตร ปู๊น ปู๊น



อุปกรณ์ 

กรรไกร คัดเตอร์ เทปกาว
เพิ่มคำอธิบายภาพ

วัสดุ

1. ขวดน้ำ                                                                            

2. แก้วน้ำพลาสติก

3. ถ้วยโยเกิร์ต

4. ลูกดป่ง

  

วิธีทำ 


1. ตัดก้นขวดน้ำดื่ม (ไม่ต้องตัดเยอะ)

















2.  ตัดถ้วยโยเกิร์กึ่งกลางแบ่งครึ่ง (กะกะให้กึ่งกาง)


















3.   ส่วนที่1 (และนำถ้วยโยเกิร์ตที่ตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปสวมไวบนหัวขวด) นำเทปกาวปิดให้แน่


4.  นำแก้วน้ำพลาสติกมาเจาะก้น ให้โล่ง แล้วนำส่วนที่1มาใส่แก้วน้ำที่เจาะเสร็จแล้ว และติดเทปกาวให้
เรียบร้อย

















5.  แลสิ่งสุดท้าย นำลูกโป่งตัดครึ่ง มาสวมที่ถ้วยโยเกิร์ตท์ (ที่ทำเสร็จ)



6. พอเสร็จแล้วเจาะรูด้านข้างแก้วจะเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมก็ได้ และรองเป่าดู แค่นี้ก็เสร็จแล้ว



  
หลักการทาง วิทยาศาสตร์

หลักวิยาศาสตร์ เสียงนั้น เกิดจากแรงดันลม ทำให้ลูกดป่งเกิดการเสียดสีกันกับปากขวด จึงเกิดเสียง


คำแนะนำ ของอาจารย์
    - อาจารย์บอกว่าสื่อที่ประดิษฐ์อันนี้น่าจะเป็น สื่อที่อยู่ใน(ตามมุม) เพราะสื่อนี้คุณครูจะต้องประดิษฐ์ไวแล้ว เพื่อเด็กมานั่งเล่น สื่อชิ้นนี้จะค่อนข้างทำอยาก สื่อชิ้นนี้ควรจัดให้อยู่ในมุมของเล่นเด็กจะดีกว่า

- พอเพื่อนๆได้ออกไป นำเสนออาจารย์จนครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้สรุปเป็นองค์รวมว่า สื่อที่แต่ละคนประดิษฐ์มาไม่มีผิดถูก แต่สื่อที่อาจารย์จะให้ทำ3 แบบ ให้ทำให้ครบและอาทิตย์ทัดไปให้นักศึกษาแต่ละคน ออกมานำเสนอสื่อที่เหลือให้ครบ

                  สื่อที่1 คือ ของเล่นวิทยาสาสตร์
                  สื่อที่2 คือ การทดลองวิทยาศาสตร์
                  สื่อที่3 คือ ไว้ตามมุม หรือเข้ามุม
อาจารย์ให้ทำให้ครบและสุดท้ายจึงมาเลือกสื่อประดิษฐ์ ที่นักศึกษาทำมา จึงมาประดิษฐ์จริง สื่อที่ประดิษฐ์ที่เลือกมาต้องแปลงใหม่ที่ไม่ซ้ำกัน อาจารย์จะเลือกอีกที