คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556



งานวิจัยเรื่อง  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การศึกษาระดับ   มหาบัณฑิต
ผู้วิจัย ศศิพรรณ สำแดงเดช

บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
ประเด็นที่1  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนทั้ง
ในการดำรงชีวิตประจำวัน การอำนวยความสะดวกและในการทำงาน     
ประเด็นที่2  การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง
4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ยังไม่ได้มีการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ประเด็นที่3  การเรียนวิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้
จากการค้นพบด้วยตนเอง
ประเด็นที่4  เนื่องจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถสอดแทรกได้อยู่ในทุกกิจกรรม ในการ
ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นจึงมีหลายวิธี
ประเด็นที่5  จากปัญหาและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเล่านิทานดังกล่าว
ข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จะมีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์หรือไม่อย่างไร

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
ปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการ
ทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย 
  ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
         2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
          

          นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขต
จอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่า
เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้
ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็น
การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน สามารถจำแนกออกได้
เป็น 3 ขั้นตอนคือ
2.1 ขั้นนำ การนำเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้ คำคล้องจอง เพลงและเล่นเกม
2.2 ขั้นดำเนินการ การทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กทำการทดลองด้วยตนเอง
และในบางครั้งเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน
2.3 ขั้นสรุป เด็กมีความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำและสามารถสื่อความหมาย การ
ร่วมกันสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง
 3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้
แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้านซึ่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
3 ด้านคือ
           3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัส
โดยตรงกับวัตถุสิ่งแวดล้อม สามารถตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ อธิบายว่าสิ่งที่
สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนความต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร
           3.2 การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่าง
ของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการคือ ความเหมือน ความแตกต่างและ
ความสัมพันธ์
           3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การ
ทดลอง หรือจากแหล่งอื่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาจัดทำใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆ คือ การสังเกต การวัด
การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น

สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
สลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วย
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน
ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

                                                              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30 – 09.00. รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็น คะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 . ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการ
ทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการ
ทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent Samples
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
     3.1 สถิติพื้นฐาน
     3.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ
     3.3 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สูตร สูตร t-test for Dependent Samples
4. การแปลผลระดับความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
     1.1 คะแนนเฉลี่ย
      1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติทดสอบสมมติฐาน
เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและ
หลังการทดลองโดยใช้สูตร t – test for dependent Samples

สรุปผลการวิจัย
 1  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
2  ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป 
1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึง
ลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมี
ขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็ก
นอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้น
เป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะ
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
ต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและ
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 5 – 6 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาที
ถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทาง
วิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการ
ฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและ
ปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน

ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย
1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังกับการ
จัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็น
แนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2. ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการสร้างกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
สำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น ทักษะทางภาษา การคิดเชิงเหตุผล
การคิดแก้ปัญหา เป็นต้น
3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างนิทานแบบมีจุดประสงค์ โดยเด็กเป็นผู้แต่ง เพื่อ

ศึกษาพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ เช่น ภาษาสังคมกับวิทยาศาสตร์ ภาษากับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น










วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ชดเชย การเรียนการ การสอน

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103

วันพุธ ที่ 29 เดือน กันยายน พ.ศ.255

การเรียน การสอน

 - อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ การทดลอง

 กระบวนการสอน วิทยาศาสตร์

เตรียมอุปกรณ์
การทดลอง ชื่อสื่อกระดาษแป๊ะเป๊ะ





- เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรที่คุณครูเตรียมมาบ้างค่ะ

- เด็กเคยเห็นกระดาษที่ไหนบ้างค่ะ

- เด็กคิดว่า วันนี้คุณครูจะนำกระดาษมาทำอะไรค่ะ

- อย่างนั้นเด้กๆรองมาดูนะค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกระดาษแผ่นนี้ที่คุณครูผับ


- เด็กลองสังเกตให้เดีนะค่ะ/ เด็กเห็นไหมค่ะเมื่อกี่เกิดอะไรขึ้น

- เด็กรู้ไมว่าเสียงเกิดมาจากไหน

- เด็กคนไหนอย่ากลองทำบ้างค่ะ



          


 จากการทดลอง

รวบรวมสื่อทั้งหมด









ลมเข้าไปกระทบกับวัตถุ ทำให้กระดาษมีเสียง/เกิดเสียงขึ้น




อาจารย์ให้ไปแก้ไขและนำเสนอใหม่เพราะ การทดลองที่นำมาเป้นของเล่น


นำสื่อมาลง อาจารข์จะเรียกตาม เลขที่

*อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ค้างให้คบภายในคาบนี้ให้เรียบร้อย เช่น ของเล่นวิทยาศาสตร์,สื่อเข้ามุม วิทยาศาสตร์, การทกลอง อาจารย์บอกว่านักศึกษาคนไหนที่ ไม่ได้นำเสนอและส่งงานในช่องที่ให้คะแนนก้จะหายไปไม่มีคะแนน 


นำเสนอแก้ไข การทดลอง วันที่7 เดือน ตุลาคม 2556



สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มี
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย


สิ่งที่ต้องใช้         
1.      ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
2.      นำร้อน
3.      ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน


วิธีทดลอง 
นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน



เพราะอะไรกันนะ


            น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว
น้ำดอก อัญชันสีจากสีน้ำเงินเปลียนเป็นสีม่วง


วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 16

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. กลุ่มเรียน 103

วันพุธ ที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.255


การเรียน การสอน



-  อาจารย์ให้นักศึกษา สรุปองค์ความรู้จากรายวิชานี้





สรุปพอเข้าใจ เป็นสังเขป